• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - jetsaridlawyer

#16
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ)

    บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว คดีมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับ จดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

    การดำเนินคดีแพ่ง คือ
    คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาลคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องก็เพื่อให้จำเลยชำระเงิน หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกดังเช่นคดีอาญา. คดีแพ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิ์ทางศาล เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์หากไม่มีผู้คัดค้าน คำร้องนั้นเข้ามาถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

    การดำเนินคดีอาญา คือ
    กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดและซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นซึ่งมีโทษทางอาญาหรือที่พูดกันว่าฟ้องให้ติดคุก หรือ รับโทษผู้อื่นในทางอาญาคดียาเป็นคดีที่เมื่อเกิดขึ้นจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของสาธารณชนในบ้านเมือง เช่น มีการฆ่าคนตายเกิดขึ้น มีการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาทขึ้น มีการชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์กันเกิดขึ้น ตัวอย่างคดีที่พบบ่อย ได้แก่คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น

    !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

#17
เหตุฟ้องหย่า มี 10 ประการดังนี้

การสิ้นสุดแห่งการสมรส มาตรา 1501
1. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือ ศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1501
2. การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1502

ฟ้องหย่า มีอยู่ 10 เหตุ ดังต่อไปนี้
    (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณี กับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (1)
    (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
         (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
         (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
         (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสา มี ภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (2)

    (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (3)
    (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4)
         การละทิ้งร้าง หมายถึง การที่สามีภริยาแยกกันอยู่ต่างหาก โดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่อกัน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี จึงจะเป็นเหตุฟ้องหย่า โดย 1 ปีนี้ไม่ใช่อายุความเพราะอายุความยังไม่เริ่มนับ
         (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
         (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

    (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
    (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (8.) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
    (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 
ฟ้องหย่า ฟ้องชู้  ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841
#18
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ให้บริการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทั้งแบบมีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมทั่วราชอาณาจักร

     ภายหลังจากผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ถึงแก่ความตายแล้ว มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล หนี้ ภาระติดพันทั้งการจำนอง จำนำ หรือ ค้ำประกัน เป็นต้น จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในการแบ่งมรดก เช่น ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือ ลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้

    กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า "ผู้จัดการมรดก" แม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

>> วิธียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      – ยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ได้แก่ ศาลแพ่ง (กทม.), ศาลจังหวัด (ต่างจังหวัด) หากผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกนั้นตั้งอยู่ในเขตศาล

      – ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ได้

      – เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 – 60 วัน

      – ส่วนการไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบประชุมทางจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม (Google Meet , Zoom Meeting , Line Meet) ได้

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ได้ทั่วราชอาณาจักร

ติดต่อเรา https://www.jetsaridlawyer.com

��
��