• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - jetsaridlawyer

#1
ถูกฟ้องคดี หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อเงินสด หนี้เงินกู้

ควรรีบปรึกษาทนายเจตน์ ส่งคำฟ้องมาให้ช่วยดูโดยด่วน
1. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องอายุความ หรือ
2. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง หรือ
3. เพื่อขอเจรจาผ่อนชำระ หากไม่มีทางสู้ตามข้อ 1 และ 2


การไปศาลโดยไม่มีทนาย หรือ ไม่ปรึกษาทนาย เท่ากับเสียเปรียบเจ้าหนี้ไปครึ่งทางแล้ว



คดีแพ่ง ถึงแม้ว่าหนี้จะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" และ ป.พ.พ. มาตรา 193/10 "สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้"

การที่สิทธิเรียกร้อง หรือ หนี้ขาดอายุความ เป็นเพียงเหตุให้ลูกหนี้ปฎิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้เสมอ โดยศาลไม่มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้

เมื่อถูกธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้อง ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า "เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้"

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด แต่ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี แม้จะขาดอายุความหากยังไม่ชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ ก็ยังคงเป็นหนี้กันตลอดไป

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
หนี้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อประเภท (OD) กับ บัญชีเดินสะพัด มีอายุความ 10 ปี
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี
หนี้บัตรกดเงินสด / สินเชื่อเงินสด มีอายุความ 10 ปี (ไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554 และ ฎีกา 2922/2561
หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 2 ปี
      – ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
      – ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
      – ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
      – การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน ไม่มีอายุความ

หนี้ตามสัญญากู้ยืม ที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกบี้ยเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี
      1. ลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระในงวดแรก การนับระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น อายุความในการฟ้องคดีจะเริ่มนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้งวดแรก และจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี
      2. ลูกหนี้ที่มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดี ย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คำว่า "ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" หมายถึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการกระทำอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 5 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี

หนี้เงินกู้ (หนี้ตามสัญญากู้ยืมทั่วไปที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว) มีอายุความ 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 (1) หากกรณีที่ลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คือ ในวันที่ลูกหนี้มาชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ มาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 10 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุด เมื่อครบกำหนด 10 ปี

การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ รับรองว่าต้นเป็นหนี้อยู่จริง ก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ "การทำหนังสือรับสภาพหนี้" มีเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิ์ของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อป้องกันปัญหาเพราะในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำหนังสือ หรือ สัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย สัญญารับสภาพหนี้อาจทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เคยเป็นหนี้กันมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานในการเป็นหนี้กัน ก็มาตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กันว่า เคยเป็นหนี้กันจำนวนเท่าใด จะชดใช้กันอย่างไร คิดดอกเบี้ยกันหรือไม่ ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้นี้จะทำให้หนี้ที่ไม่เคยมีหลักฐานแต่เดิมกลายเป็นหนี้ที่มีหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดี การรับสภาพหนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในอายุความตามหนี้เดิมและเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และเริ่มนับอายุความใหม่ตามมูลหนี้เดิม

ในการเริ่มนับอายุความนั้น ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ศาลประทับรับฟ้องคดี ฉนั้น แม้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ยังฟ้องลูกหนี้ให้ชำระได้ตลอดเวลา

หนี้บัตรเครดิต
หนี้สินเชื่อเงินสด ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์


#2

คดีแพ่ง ถึงแม้ว่าหนี้จะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" และ ป.พ.พ. มาตรา 193/10 "สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้"

การที่สิทธิเรียกร้อง หรือ หนี้ขาดอายุความ เป็นเพียงเหตุให้ลูกหนี้ปฎิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้เสมอ โดยศาลไม่มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้

เมื่อถูกธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้อง ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า "เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้"

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด แต่ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี แม้จะขาดอายุความหากยังไม่ชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ ก็ยังคงเป็นหนี้กันตลอดไป

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
หนี้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อประเภท (OD) กับ บัญชีเดินสะพัด มีอายุความ 10 ปี
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี
หนี้บัตรกดเงินสด / สินเชื่อเงินสด มีอายุความ 10 ปี (ไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554 และ ฎีกา 2922/2561
หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 2 ปี
      – ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
      – ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
      – ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
      – การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน ไม่มีอายุความ

หนี้ตามสัญญากู้ยืม ที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกบี้ยเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี
      1. ลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระในงวดแรก การนับระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น อายุความในการฟ้องคดีจะเริ่มนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้งวดแรก และจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี
      2. ลูกหนี้ที่มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดี ย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คำว่า "ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" หมายถึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการกระทำอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 5 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี

หนี้เงินกู้ (หนี้ตามสัญญากู้ยืมทั่วไปที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว) มีอายุความ 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 (1) หากกรณีที่ลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คือ ในวันที่ลูกหนี้มาชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ มาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 10 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุด เมื่อครบกำหนด 10 ปี

การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ รับรองว่าต้นเป็นหนี้อยู่จริง ก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ "การทำหนังสือรับสภาพหนี้" มีเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิ์ของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อป้องกันปัญหาเพราะในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำหนังสือ หรือ สัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย สัญญารับสภาพหนี้อาจทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เคยเป็นหนี้กันมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานในการเป็นหนี้กัน ก็มาตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กันว่า เคยเป็นหนี้กันจำนวนเท่าใด จะชดใช้กันอย่างไร คิดดอกเบี้ยกันหรือไม่ ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้นี้จะทำให้หนี้ที่ไม่เคยมีหลักฐานแต่เดิมกลายเป็นหนี้ที่มีหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดี การรับสภาพหนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในอายุความตามหนี้เดิมและเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และเริ่มนับอายุความใหม่ตามมูลหนี้เดิม

ในการเริ่มนับอายุความนั้น ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ศาลประทับรับฟ้องคดี ฉนั้น แม้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ยังฟ้องลูกหนี้ให้ชำระได้ตลอดเวลา

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน
ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์


#3

การให้กู้ยืมเงิน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ สัญญากู้ยืมเงิน ที่ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องกันไม่ได้

แต่ถ้ามีการสนทนาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Chat สนทนายืมเงินทาง Facebook หรือ LINE ที่มีข้อความครบถ้วนว่า ใครเป็นผู้ขอยืม, จำนวนเงินที่ยืม, จะใช้คืนเมื่อไหร่, และหลักฐานที่แนบ Slip การโอนเงิน ระบุวัน-เวลา ที่เราได้โอนเงินให้ผู้กู้ยืมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ โดยกฎหมายให้ถือเอาชื่อ Facebook เป็นการลงลายมือชื่อของผู้ยืมด้วย โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับประกอบ

มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้
"ธุรกรรม" หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4
"ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
"ข้อความ" หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ
"ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
"ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
"ระบบข้อมูล" หมายความว่า กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทํา เป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

ผู้ให้กู้ยืมต้องเตรียมหลักฐาน 3 ประการ ดังนี้
1. หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่าน Chat
2. หลักฐานบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้กู้ยืมเงิน
3. หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร (หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยันหรือหาหลักฐานเชื่อมโยง เพื่ออธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใครและเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน)

มีอายุความกี่ปี ?
– การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืน จะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์


#4

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง ผู้ให้กู้ยืมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้เงินกู้ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
          ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว"

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (เกิน 2,000 บาทขึ้นไป) ที่จะสามารถฟ้องศาลได้ แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

– กรณีมีสัญญาการยืมเงิน : ผู้ให้กู้ต้องมีหนังสือสัญญากู้ยืมที่ระบุสัญญาได้ทำขึ้นที่ไหน, วัน/เดือน/ปี ในการทำสัญญา, รายละเอียดของผู้ให้กู้และผู้กู้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รวมทั้งจำนวนเงินที่ยืม กำหนดชำระคืน ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี) และลงลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ การทำหนังสือหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกัน ก็สามารถใช้ดำเนินการฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นกัน

– กรณีไม่มีสัญญาการยืมเงิน :  ผู้ให้กู้สามารถใช้หลักฐานการ  Chat  ที่มีหลักฐานเป็นข้อความการสนทนาขอกู้ยืมเงิน  ผ่านผู้ให้บริการสนทนาที่น่าเชื่อถือ เช่น Facebook , LINE  หรือ สื่อโซเชียลอื่น และต้องมีข้อความที่ระบุว่า ใครเป็นผู้ขอยืม, จำนวนเงินที่ยืม, จะใช้คืนเมื่อไหร่, และหลักฐาน Slip การโอนเงิน ระบุวัน-เวลา ที่เราได้โอนเงินให้ผู้กู้ยืมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว และนอกจากนี้ต้องมี ชื่อบัญชีผู้ใช้, ชื่อจริง, บัญชีธนาคารของผู้กู้ยืม, ต้องเก็บหลักฐานไว้ทันทีที่มีการกู้ยืมเงิน รักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการตัดต่อแก้ไขวันที่ หรือเวลารับ-ส่งข้อความกัน เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือ ฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน มีอายุความกี่ปี ?
– การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญากู้ยืมจะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน
– แต่หากในสัญญากู้ยืมมีการตกลงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแบบเป็นงวด ๆ กรณีนี้จะมีอายุความเพียง 5 ปี

ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์


#5

ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่อะไรบ้าง ?

หน้าที่ของผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
      เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดก และทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก จะทำนิติกรรมใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้
      หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเบียดบังเป็นของตน หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาท ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ และอาจมีความผิดอาญามีโทษจำคุกได้

ผู้จัดการมรดก หมายถึงใคร
         ผู้จัดการมรดก ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดกจะเป็นใครก็ได้ แต่ผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องเป็นทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดก เช่น ผู้สืบสันดาน, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน , คู่สมรส (ที่ทำการจดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น) หรือ จะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกัน เช่น เจ้าของร่วมทรัพย์สิน

           หรือ หากมีพินัยกรรมก็ให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมได้ระบุไว้ แต่ทั้งนี้ศาลก็ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้ได้ด้วยเช่นกัน อาจตั้งทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นที่เหมาะสมกว่าก็ได้ และการจัดตั้งผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งขึ้นมาแค่เพียงคนเดียวด้วย สามารถตั้งหลายคนได้ เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ที่สามารถให้ผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่งสามารถเป็นผู้ดำเนินการเพียงลำพังได้ ในขณะที่ผู้จัดการคนอื่นไม่สะดวก

ขั้นตอนการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
คลิกอ่านบทความที่นี่ ::>> การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

ติดต่อ สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานกฎหมาย
#6

ฟ้องหย่า
มีรายละเอียดอย่างไร และเรียกร้องอะไรได้บ้าง ?


        กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องการหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่า สามารถไปฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่ต้องมีเหตุฟ้องหย่าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1516 เท่านั้น จะอาศัยเหตุอื่นมาเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ และจะทำสัญญาก่อนสมรสกำหนดเหตุฟ้องหย่ากันไว้เองก็ไม่ได้ด้วยเช่นกัน
        แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะต่อสู้คดีว่าไม่มีเหตุฟ้องหย่าและการสมรสเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากัน ศาลพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้

        เหตุฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516 มีทั้งหมด 10 เหตุ (คลิกอ่านบทความ เหตุฟ้องหย่า 10 ประการที่นี่)

        โดยทั้งหมดนี้ใช้ในการฟ้องหย่าในประเทศไทยทุกกรณี กล่าวคือ หากเป็นสามีภริยาชาวต่างชาติ แต่ถ้ามาฟ้องหย่ากันในประเทศไทยต้องใช้เหตุหย่า ตามมาตรา 1516 และต้องนำสืบด้วยว่ากฎหมายแห่งสัญชาติตนและจำเลยให้สิทธิฟ้องหย่าได้ หากไม่นำสืบ ศาลพิพากษายกฟ้องได้แม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ก็ตาม

        สำหรับการสมรสโดยบุคคลเพศเดียวกันที่กระทำในต่างประเทศโดยชอบด้วยกฎหมายของต่างประเทศ ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการสมรสตามกฎหมายไทย โดยต้องถือว่าไม่ใช่การสมรสจะมาฟ้องหย่าในศาลไทยไม่ได้ และการจดทะเบียนหุ้นส่วนชีวิต ก็มาฟ้องหย่าในศาลไทยไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนเพศ เช่น ชายเปลี่ยนเพศเป็นหญิง แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับชาย แบบนี้ถือว่าเป็นการสมรสกันตามกฎหมายมาฟ้องหย่าในศาลไทยได้

        การฟ้องหย่า ให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ โดย "มูลคดี" คือ ที่ที่เกิดต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่า ไม่ใช่ที่ที่จดทะเบียนสมรส เช่น สามีภริยาไปเที่ยวภูเก็ตแล้วสามีทำร้ายภริยาจนภริยาต้องการหย่า แบบนี้มูลคดี คือ ภูเก็ต ฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น

        ฟ้องหย่า (นอกจากฟ้องหย่าแล้วจะเรียกร้องอะไรได้อีกบ้าง)
        1. ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพ ตามมาตรา 1526 , 1527 , 1528 , 1461
        2. ฟ้องเรียกค่าอุปการะลี้ยงดูบุตร (กรณีมีบุตร) / การใช้อำนาจปกครองบุตร มาตรา 1520 , 1522
        3. ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้นตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง หรือ เรียกค่าทดแทนจากชู้ ตามมาตรา 1523 วรรคสองได้
        4. ฟ้องแบ่งสินสมรส มาตรา 1533 , มาตรา 1535 และการชำระหนี้ (สินสมรส มาตรา 1474 , สินส่วนตัว มาตรา 1471) ได้

        ฟ้องหย่า จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?
        1. ใบสำคัญการสมรส
        2. ทะเบียนบ้านที่สามี-ภรรยา และบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกัน
        3. บัตรประจำตัวประชาชน สามี-ภรรยา
        4. สูติบัตรบุตรหรือทะเบียนบ้านของบุตรทุกคน (ถ้ามีบุตรด้วยกัน)
        5. หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ทั้งของสามีภรรยาและบุตร ถ้ามี)
        6. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่จะฟ้องหย่า ตามมาตรา 1516
        7. หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน รายการจดทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น (เฉพาะกรณีที่มีประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วย)
        8. หลักฐานเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ เช่น หลักฐานการศึกษา การส่งเสียเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ (เฉพาะคดีที่มีประเด็นเรื่องอำนาจปกครองบุตร)
        9. บันทึกข้อตกลงการหย่า (ถ้ามี)

        ก่อนฟ้องหย่า แนะนำให้ปรึกษาทนายความก่อนนะครับ
        1. เรียบเรียงและนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาปรึกษาทนายความก่อน
        2. รวบรวมพยานหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้องนำมาให้ทนายตรวจสอบก่อน
        3. หากทนายความพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเหตุที่สามารถฟ้องหย่าได้ ก็ตกลงเซ็นต์ใบแต่งทนายความและทำสัญญาจ้างว่าความ
        4. เพื่อให้ทนายทำหน้าที่จัดทำคำฟ้อง ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

ปรึกษาเรื่องการ ฟ้องหย่า , ฟ้องชู้ , ฟ้องเรียกค่าทดแทน , ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

 ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841
#7
สำนักงานกฎหมาย เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ บริการรับว่าความ ดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา ต่อสู้คดี ที่ปรึกษากฎหมาย สืบทรัพย์ บังคับคดี เจรจาไกล่เกลี่ย ดำเนินการในคดีล้มละลาย หรือ จัดการมรดก
- ฟ้องหย่า
- ฟ้องชู้
- ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
- ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
- การยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
โดยมีทีมทนายความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายทั่วประเทศ
ติดต่อ ทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ปรึกษาคดีฟรีทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานทนายความ โทร. 087-999-3841
#9


คดีฟ้องชู้ : คู่สมรสสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าทดแทนจาก ชายชู้ หรือ หญิงชู้ ได้โดยไม่ต้องหย่า

          มาตรา 1523 วรรคสอง "สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้"


สามารถแยกออกเป็น 2 กรณี คือ


- กรณีแรก ฟ้องชายชู้ คือ เป็นกรณีที่สามีสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือชายอื่นในฐานะที่ชายชู้หรือชายอื่น นั้นล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้เท่านั้น โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าก่อน

- หลักการ คือ เพียงแค่มีชายชู้หรือชายอื่นล่วงเกินภรรยาไปในทำน้องชู้สาว แม้ภรรยาจะสมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกินก็ตาม เช่น แตะเนื้อต้องตัว จูบ จับต้องบริเวณที่ไม่ควร นอนกอดกัน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมประเวณี สิทธิของสามีย่อมเกิดมีขึ้นทันทีขณะมีการล่วงเกินก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้แล้ว
- การล่วงเกินภรรยาไปในทำนองชู้สาวนั้น ไม่ว่าจะมีการร่วมประเวณีหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องทำโดยเปิดเผย ไม่ต้องประกาศให้บุคคลอื่นทั่วไปรู้ อาจจะเป็นการแอบคบหา และแอบมีความสัมพันธ์กันในที่ลับสามีก็มีสิทธิฟ้องได้
- ทั้งนี้รวมถึงการที่ภรรยาได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าคบหาหรือเป็นคนรักกับชายชู้ มีพฤติการณ์ที่เป็นที่รู้อยู่ทั่วไปว่าชายชู้คนดังกล่าวเป็นคนรักของตน สามีมีสิทธฟ้องได้เช่นเดียวกัน
- นอกจากนี้กรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอมหรือชายอื่นมาข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางชู้สาว สามีเรียกค่าทดแทนจากผู้ข่มขืนภรรยาได้ เพราะฉะนั้นการไปข่มขืนหญิงที่มีสามีก็อาจจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนมากกว่าการไปข่มขืนผู้หญิงที่ยังไม่มีสามี เพราะการไปข่มขืนหญิงมีสามีนั้น จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวหญิงที่ถูกข่มขืนและสามีของหญิงนั้นด้วย อย่างไรก็ดีหากหญิงไม่มีพฤติกรรมทำนองชู้สาวกับชายอื่น แสดงว่าชายอื่นก็ไม่มีการกระทำทำนองชู้สาวกับหญิง ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้นะครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2936/2522 การนอนกอดกับภริยาของผู้อื่นเพราะรักใคร่กันในทางชู้สาว หรือกระทำถึงขั้นร่วมประเวณีกับภริยาผู้อื่น ก็ล้วนแต่ต้องถือว่าได้ล่วงเกินภริยาของเขาไปในทำนองชู้สาวทั้งสิ้น โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2525 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาให้จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในร้านของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไปพบก็มีการไปเจรจากันที่สถานีตำรวจโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 2 แต่ตกลงกันเรื่องค่าเสียหายและการเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ศาลกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1151/2529 ภรรยามีชู้ศาลพิพากษาให้ภรรยาและชายชู้จ่ายค่าทดแทนให้สามี คนละ  100,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 320/2530 การล่วงเกินในทำนองชู้สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1523 วรรคสองมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย สิทธิเรียกค่าทดแทนนี้มิได้มีเงื่อนไขว่าสามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาเสียก่อนจึงจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาวได้และค่าทดแทนในกรณีนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งที่ชายชู้ต้องรับผิด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามฐานานุรูปแห่งผู้ต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 454/2533 ภรรยามีชู้แต่สามีไม่เรียกค่าทดแทนจากภรรยาแต่เรียกค่าทดแทนจากชายชู้ที่มาร่วมเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6804/2558 ชายชู้หรือชายที่ล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวจะต้องทราบว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว แต่ยังจงใจละเมิดสิทธิสามีด้วยการเป็นชู้สาว สามารถกำหนดค่าทดแทนให้ชายชู้จ่ายให้แก่ สามีได้  500,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 2590/2561 สิทธิของสามีที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภรรยาใน ทำนองชู้สาวมีขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีการหย่า แม้ต่อมาสามีจดทะเบียนหย่าภรรยาแล้วสามีก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ได้


- กรณีที่สอง ฟ้องหญิงชู้ (ฟ้องเมียน้อย) คือ ภรรยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ หรือ ภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ ส่วนการแสดงตนโดยเปิดเผยก็มีตัวอย่าง เช่น

- คบหากันอย่างเปิดเผย เพื่อนร่วมงานที่ทำงานหรือเพื่อนบ้านทราบดีว่าเป็นคนรักกัน
- แสดงความรักหรือแสดงความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวโดยเปิดเผยให้กับคนทั่วไปได้รับทราบ เช่น เดินจับมือ โอบกอดในที่สาธารณะ
- ลงรูปคู่ คลิปวีดีโอ ตามสื่อโซเชียลที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นคนรักกัน
- จัดงานพิธีมงคลสมรสกัน หรือ ออกงานพิธีการต่าง ๆ ร่วมกันอย่างเปิดเผย
หากมีพยานหลักฐานชัดเจน ภรรยาก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ได้ โดยไม่ต้องมีการฟ้องหย่าก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 981/2535 ภรรยาหลวงเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6553/2537 โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนิน คดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผย ว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ในทำนองชู้สาวโจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2542 การที่จำเลยกับป. สามีโจทก์ พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันในท้องที่ย่านชุมนุมชน โดยเปิดเผย และมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน โดยบุตรก็ใช้นามสกุล ของ ป. ด้วยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่แสดงโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ป.ในทำนองชู้สาวแล้วโดยไม่จำเป็นต้องออกงานสังคมร่วมกับ ป. แต่อย่างใด ตามปกติภริยาย่อมต้องรักใคร่หวงแหนมิให้สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ หญิงอื่นเว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษอย่างยิ่ง โจทก์มีความรักและหวงแหน ป. ผู้เป็นสามีถึงกับต้อง ย้ายจากจังหวัดนครศรีธรรมราชติดตามมาอยู่กับ ป. ที่จังหวัดจันทบุรีและยังไปร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชา ป.ให้ว่ากล่าวตักเตือน ป.ให้ยุติความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยด้วย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลหรือพฤติการณ์พิเศษอย่างใดที่โจทก์มีความจำเป็นต้องยินยอมให้จำเลยมาเป็นภริยาของ ป. อีกคนหนึ่ง เมื่อจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับ ป. ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมเช่นนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 4130/2548 ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4818/2551 ภรรยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผย และไม่ฟ้องหย่าสามีก็เรียกค่าทดแทนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 7170/2554 ภรรยามีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ โดยไม่ต้องฟ้องหย่า

คำพิพากษาฎีกาที่ 10842/2559 ทั้งก่อนและหลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีโจทก์เป็นภริยาแล้ว จำเลยยังติดต่อคบหาสมาคมกับ ท. และติดตาม ท. มาถึงสถานที่ทำงาน อยู่ในห้องทำงานของ ท. และมีเพศสัมพันธ์กันซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ปกปิดมิดชิดไม่มีผู้ใดล่วงรู้ เมื่อคนงานและเพื่อนร่วมงาน ท. ทราบว่า ท. มีภริยาแล้วและพบเห็นจำเลยกับ ท. มาที่บริษัท โดยจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยกับ ท. มีความสัมพันธ์กันเป็นพิเศษ หลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีภริยาแล้ว ย่อมทำให้วิญญูชนทั่วไปมีเหตุอันควรเชื่อและเข้าใจว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับ ท. มากกว่าที่จะรู้จักกันในฐานะลูกค้าหรือบุคคลธรรมดาที่รู้จักกันทั่วไป ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ท. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีที่ฟังยุติมาข้างต้นมิอาจแปลความว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะลักลอบมีเพศสัมพันธ์กับ ท. และพยายามปกปิดการกระทำให้ทราบกันตามลำพังระหว่างจำเลยกับ ท.

คำพิพากษาฎีกาที่ 964/2562 คำฟ้องโจทก์ขอเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้" จากพฤติการณ์ที่สามีโจทก์ไปพบจำเลยที่บ้านเช่าของจำเลยในช่วงเวลากลางคืนบ่อยครั้ง โดยขับรถมาเองหรือมาพร้อมกับจำเลยก็ตาม บางครั้งก็นอนพักค้างคืนที่บ้านจำเลยและกลับออกมาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น อีกทั้งสามีโจทก์ยังมีกุญแจที่ใช้เปิดประตูเข้าออกบ้านจำเลยได้เอง แม้ในยามกลางดึกซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยเข้านอนแล้วก็สามารถเข้าบ้านจำเลยโดยไม่ต้องรอให้จำเลยเปิดประตูบ้านให้ อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่าที่จะเป็นเพียงนายจ้างหรือลูกจ้างกันตามปกติธรรมดา การที่จำเลยเป็นหญิงที่แต่งงานมีสามีแล้ว ยินยอมให้สามีโจทก์ซึ่งเป็นชายอื่นเข้าออกบ้านจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง รวมทั้งให้มานอนค้างคืนที่บ้านแล้วออกจากบ้านไปช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น โดยบางครั้งมีการแต่งกายออกไปทำงานพร้อมกัน ย่อมทำให้เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่พบเห็นถึงพฤติกรรมระหว่างจำเลยกับสามีโจทก์เข้าใจได้ว่า จำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการที่จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง


- ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนเพราะเหตุที่มีการล่วงเกินทางประเวณีนี้ ถ้าสามีหรือภรรยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายกระทำการตามมาตรา 1523 วรรคสองนั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการมีชู้หรือมีภรรยาน้อย เว้นแต่จะเป็นเหตุต่อเนื่องตลอดมา หากมีหลักฐานการเป็นชู้ของคู่สมรส โปรดรีบติดต่อสำนักงานกฎหมาย ปรึกษาทนายความ โดยเร็วที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ 6851/2537 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยจึงเรียกค่าทดแทนจาก ภรรยาน้อยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1620/2538 ภรรยาน้อยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีใน ทำนองชู้สาวมีอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องเป็นเหตุต่อเนื่องไม่ขาดอายุความ

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841
#10
สำนักงานกฎหมาย เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ บริการรับว่าความ ดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา ต่อสู้คดี ที่ปรึกษากฎหมาย สืบทรัพย์ บังคับคดี เจรจาไกล่เกลี่ย ดำเนินการในคดีล้มละลาย หรือ จัดการมรดก
- ฟ้องหย่า
- ฟ้องชู้
- ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
- ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โดยมีทีมทนายความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายทั่วประเทศ
ติดต่อ ทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ปรึกษาคดีฟรีทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานทนายความ โทร. 087-999-3841
#11
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ปรึกษาคดีฟรี)

          !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายความมืออาชีพยินดีช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

          เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ) บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ คดีมรดก ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับจดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

#13
ทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วประเทศ

บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว คดีมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับ จดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

การดำเนินคดีแพ่ง คือ
คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาลคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องก็เพื่อให้จำเลยชำระเงิน หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกดังเช่นคดีอาญา. คดีแพ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิ์ทางศาล เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์หากไม่มีผู้คัดค้าน คำร้องนั้นเข้ามาถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

การดำเนินคดีอาญา คือ
กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดและซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นซึ่งมีโทษทางอาญาหรือที่พูดกันว่าฟ้องให้ติดคุก หรือ รับโทษผู้อื่นในทางอาญาคดียาเป็นคดีที่เมื่อเกิดขึ้นจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของสาธารณชนในบ้านเมือง เช่น มีการฆ่าคนตายเกิดขึ้น มีการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาทขึ้น มีการชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์กันเกิดขึ้น ตัวอย่างคดีที่พบบ่อย ได้แก่คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น

!!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
https://www.jetsaridlawyer.com

#14
ข้อยกเว้น..ที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

ข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า
          มาตรา 1517 "เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 1516 ( 8 ) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้"
          มาตรา 1518 "สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว"
 
บัญญัติในมาตรา 1517 และมาตรา 1518 จะมีข้อยกเว้นอยู่ 4 ประการด้วยกัน
          ข้อยกเว้นประการแรก คือ การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า ซึ่งใช้เฉพาะในเหตุฟ้องหย่าประการที่หนึ่ง ที่สามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันสามีหรือภรรยาเป็นชู้ หรือมีชู้หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ และสามีหรือภรรยาประพฤติชั่ว เฉพาะ 2 กรณีนี้เท่านั้น หากฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจก็จะมาฟ้องหย่าไม่ได้ โดยการยินยอม หมายถึง การแสดงกิริยาอาการให้ปรากฏชัดแจ้งที่จะอนุญาตให้กระทำ ส่วน การรู้เห็นเป็นใจ หมายถึง การให้บริการและความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

          - แต่เพียงการยอมอดทนนิ่งเฉย โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรหรือเป็นการวางกับดักเพื่อจะจับผิดนั้นไม่ถือว่าเป็นการยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 9131/2539 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยเช่นนี้ ภรรยาจึงฟ้องหย่าได้

          - ภรรยาเห็นรูปสามีประกอบพิธีมงคลสมรสกับหญิงอื่น หลังจากงานเสร็จไปแล้วโดยไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน ไม่ถือว่ายินยอมหรือรู้เห็นเป็นจ่ายภรรยาจึงฟ้องหย่าได้
          คำพิพากษาฎีกาที่ 3596/2546 โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินร่วมกันตลอดมา จนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ

          จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก

          สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา เป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่า อุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

          ข้อยกเว้นประการที่สอง คือ การกระทำของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเป็นเหตุให้เกิดเหตุอย่างนั้น ซึ่ง ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 (10) ที่สภาพแห่งการของสามีหรือภรรยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดการ หากเกิดเพราะการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งคู่สมรสฝ่ายนั้นจะฟ้องหย่าไม่ได้ เช่น ภรรยาโกรธที่สามี ชอบไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นจึงใช้มีดตัดของลับของสามีโยนทิ้งไป เช่นนี้ภรรยาจะมาฟ้องหย่าโดยอ้างว่าสภาพแห่งกายของสามีไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาลไม่ได้ ถ้าเป็นกรณีที่ภรรยาหาภรรยาน้อยให้สามีแล้วสามีติดโรคเอดส์จากภรรยาน้อย เช่นนี้ ภรรยาฟ้องหย่าสามีอ้างเหตุสามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามเหตุฟ้อง หย่าตามมาตรา 1516 (9) เพราะข้อยกเว้นนี้ใช้เฉพาะเหตุตามมาตรา 1516 (10) เท่านั้น

          ข้อยกเว้นประการที่สาม คือ เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อยซึ่งใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 ( 8 ) ที่สามีหรือ ภรรยาผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤตินั้นศาลจะพิพากษาให้หย่าก็ได้

          ข้อยกเว้นรายการที่สี่ คือ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ให้อภัยแล้วซึ่งข้อยกเว้นเหตุที่ 4 นี้จะใช้ในเหตุหย่า ทุกเหตุแต่ต้องให้อภัยก่อนฟ้องคดี เช่น สามีทราบว่าภรรยามีชู้และจับได้แต่ให้อภัยต่อมาภายหลังจะเกิดนึกเจ็บใจกลับมาฟ้องหย่าภรรยาไม่ได้ และการให้อภัยนั้นต้องเป็นการที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าให้อภัยในการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อนการใช้สิทธิฟ้องหย่าต่อศาล ซึ่งหมายถึงการให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกับคืนสู่ฐานะทางครอบครัวดังเดิม โดยคู่สมรสฝ่ายที่ให้อภัยได้รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำผิดแต่ก็มีเจตนาที่จะยกโทษให้นั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ

          1. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องแสดงกิริยาอาการอย่างชัดแจ้งที่จะให้คู่สมรสที่ทำผิด กลับคืนสู่ฐานะในทางครอบครัวดังเดิม
          2. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้ เช่น ภรรยาใช้อาวุธปืนยิงสามี 2 ครั้งก่อนฟ้องคดีเป็นเวลาถึง 14 ปี และ 4 ปี แต่สามีไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษภรรยาคงอยู่กินด้วยกันตลอดมา เป็นต้นถือว่ามีเจตนาที่จะให้อภัยและยกโทษให้แล้ว
          3. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องได้รู้ถึงความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยตลอด

          ตัวอย่างการให้อภัย เช่น การที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภรรยาและมีบุตรด้วยกันจึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยตั้งแต่แรกแล้ว นอกจากนี้ข้อต่อสู้เรื่องการให้อภัยและผู้พันจะไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ และศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นเรื่องการให้อภัยไว้ก็ตามแต่ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย (ฎีกาที่ 10157/2559)

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1699/2544 ภรรยาจงใจละทิ้งร้างแต่สามีก็ตามไปหาพาไปเที่ยวและ รับประทานอาหารหลายครั้งถือว่าเป็นการให้อภัยแล้วจึงฟ้องหย่าไม่ได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3190/2549 ภรรยาทราบว่าสามียุ่งเกี่ยวกับหญิงหลายคนแต่ไม่พร้อมหย่าจนเมื่อทราบแน่ชัดว่าสามีกับหญิงอื่นมีบุตรด้วยกันจึงฟ้อง อย่างเช่นนี้ไม่ถือว่ายินยอมหรือให้อภัยในการที่สามีมีภรรยาน้อยจึงสามารถฟ้องหย่าได้

          - สามีมีภรรยาน้อยแล้วยิงภรรยาหลวงบาดเจ็บสาหัส การที่ภรรยาหลวงส่งโทรสารถึงสามีเพื่อขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินออกจากบ้านมารดาสามี เป็นการขอให้เจ้าของสถานที่ยินยอมให้นำทรัพย์สินออกมา ไม่มีพฤติการณ์ที่จะอยู่กินดังเดิมและภรรยาหลวงยังแจ้งความคดีอาญาแก่สามีฐานพยายามฆ่า ถือไม่ได้ว่าภรรยาหลวงได้ให้อภัยแล้ว....จึงฟ้องหย่าได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2556 แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมี รายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้ เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้ สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำ ของจำเลยทั้งสอง และทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่ จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมา อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่ กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่าตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และ จำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้ สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518

          - ในกรณีที่คู่สมรสต่างกระทำผิดด้วยกันอันเป็นเหตุให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิฟ้องหย่าได้ เช่น สามีจงใจละทิ้งร้างภรรยาไป ภรรยาจึงมีชู้นั้น เช่นนี้ไม่ถือเป็นข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า สามีจึงหย่าขาดจากภรรยาได้

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841