• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

ดูบอลออนไลน์

มวยพักยก

SBOBET

UFABET

poker online

ufa

ufabet

baccarat

sagame

UFABET

ที่นอน

รับทำเสื้อ

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - jetsaridlawyer

#1


คดีฟ้องชู้ : คู่สมรสสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าทดแทนจาก ชายชู้ หรือ หญิงชู้ ได้โดยไม่ต้องหย่า

          มาตรา 1523 วรรคสอง "สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้"


สามารถแยกออกเป็น 2 กรณี คือ


- กรณีแรก ฟ้องชายชู้ คือ เป็นกรณีที่สามีสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือชายอื่นในฐานะที่ชายชู้หรือชายอื่น นั้นล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้เท่านั้น โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าก่อน

- หลักการ คือ เพียงแค่มีชายชู้หรือชายอื่นล่วงเกินภรรยาไปในทำน้องชู้สาว แม้ภรรยาจะสมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกินก็ตาม เช่น แตะเนื้อต้องตัว จูบ จับต้องบริเวณที่ไม่ควร นอนกอดกัน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมประเวณี สิทธิของสามีย่อมเกิดมีขึ้นทันทีขณะมีการล่วงเกินก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้แล้ว
- การล่วงเกินภรรยาไปในทำนองชู้สาวนั้น ไม่ว่าจะมีการร่วมประเวณีหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องทำโดยเปิดเผย ไม่ต้องประกาศให้บุคคลอื่นทั่วไปรู้ อาจจะเป็นการแอบคบหา และแอบมีความสัมพันธ์กันในที่ลับสามีก็มีสิทธิฟ้องได้
- ทั้งนี้รวมถึงการที่ภรรยาได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าคบหาหรือเป็นคนรักกับชายชู้ มีพฤติการณ์ที่เป็นที่รู้อยู่ทั่วไปว่าชายชู้คนดังกล่าวเป็นคนรักของตน สามีมีสิทธฟ้องได้เช่นเดียวกัน
- นอกจากนี้กรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอมหรือชายอื่นมาข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางชู้สาว สามีเรียกค่าทดแทนจากผู้ข่มขืนภรรยาได้ เพราะฉะนั้นการไปข่มขืนหญิงที่มีสามีก็อาจจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนมากกว่าการไปข่มขืนผู้หญิงที่ยังไม่มีสามี เพราะการไปข่มขืนหญิงมีสามีนั้น จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวหญิงที่ถูกข่มขืนและสามีของหญิงนั้นด้วย อย่างไรก็ดีหากหญิงไม่มีพฤติกรรมทำนองชู้สาวกับชายอื่น แสดงว่าชายอื่นก็ไม่มีการกระทำทำนองชู้สาวกับหญิง ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้นะครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2936/2522 การนอนกอดกับภริยาของผู้อื่นเพราะรักใคร่กันในทางชู้สาว หรือกระทำถึงขั้นร่วมประเวณีกับภริยาผู้อื่น ก็ล้วนแต่ต้องถือว่าได้ล่วงเกินภริยาของเขาไปในทำนองชู้สาวทั้งสิ้น โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 529/2525 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาให้จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในร้านของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไปพบก็มีการไปเจรจากันที่สถานีตำรวจโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 2 แต่ตกลงกันเรื่องค่าเสียหายและการเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ศาลกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1151/2529 ภรรยามีชู้ศาลพิพากษาให้ภรรยาและชายชู้จ่ายค่าทดแทนให้สามี คนละ  100,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 320/2530 การล่วงเกินในทำนองชู้สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1523 วรรคสองมีความหมายรวมถึงการทำชู้ด้วย สิทธิเรียกค่าทดแทนนี้มิได้มีเงื่อนไขว่าสามีจะต้องฟ้องหย่าภริยาเสียก่อนจึงจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาวได้และค่าทดแทนในกรณีนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งที่ชายชู้ต้องรับผิด ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามฐานานุรูปแห่งผู้ต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 454/2533 ภรรยามีชู้แต่สามีไม่เรียกค่าทดแทนจากภรรยาแต่เรียกค่าทดแทนจากชายชู้ที่มาร่วมเกินภรรยาในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6804/2558 ชายชู้หรือชายที่ล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวจะต้องทราบว่าหญิงนั้นมีสามีแล้ว แต่ยังจงใจละเมิดสิทธิสามีด้วยการเป็นชู้สาว สามารถกำหนดค่าทดแทนให้ชายชู้จ่ายให้แก่ สามีได้  500,000  บาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 2590/2561 สิทธิของสามีที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินภรรยาใน ทำนองชู้สาวมีขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีการหย่า แม้ต่อมาสามีจดทะเบียนหย่าภรรยาแล้วสามีก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ได้


- กรณีที่สอง ฟ้องหญิงชู้ (ฟ้องเมียน้อย) คือ ภรรยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ หรือ ภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ ส่วนการแสดงตนโดยเปิดเผยก็มีตัวอย่าง เช่น

- คบหากันอย่างเปิดเผย เพื่อนร่วมงานที่ทำงานหรือเพื่อนบ้านทราบดีว่าเป็นคนรักกัน
- แสดงความรักหรือแสดงความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวโดยเปิดเผยให้กับคนทั่วไปได้รับทราบ เช่น เดินจับมือ โอบกอดในที่สาธารณะ
- ลงรูปคู่ คลิปวีดีโอ ตามสื่อโซเชียลที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นคนรักกัน
- จัดงานพิธีมงคลสมรสกัน หรือ ออกงานพิธีการต่าง ๆ ร่วมกันอย่างเปิดเผย
หากมีพยานหลักฐานชัดเจน ภรรยาก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ได้ โดยไม่ต้องมีการฟ้องหย่าก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 981/2535 ภรรยาหลวงเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6553/2537 โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนิน คดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผย ว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ในทำนองชู้สาวโจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2542 การที่จำเลยกับป. สามีโจทก์ พักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันในท้องที่ย่านชุมนุมชน โดยเปิดเผย และมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน โดยบุตรก็ใช้นามสกุล ของ ป. ด้วยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่แสดงโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ป.ในทำนองชู้สาวแล้วโดยไม่จำเป็นต้องออกงานสังคมร่วมกับ ป. แต่อย่างใด ตามปกติภริยาย่อมต้องรักใคร่หวงแหนมิให้สามีไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ หญิงอื่นเว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษอย่างยิ่ง โจทก์มีความรักและหวงแหน ป. ผู้เป็นสามีถึงกับต้อง ย้ายจากจังหวัดนครศรีธรรมราชติดตามมาอยู่กับ ป. ที่จังหวัดจันทบุรีและยังไปร้องเรียน ต่อผู้บังคับบัญชา ป.ให้ว่ากล่าวตักเตือน ป.ให้ยุติความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยด้วย ไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลหรือพฤติการณ์พิเศษอย่างใดที่โจทก์มีความจำเป็นต้องยินยอมให้จำเลยมาเป็นภริยาของ ป. อีกคนหนึ่ง เมื่อจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับ ป. ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมเช่นนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 4130/2548 ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4818/2551 ภรรยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภรรยาน้อยที่แสดงตนโดยเปิดเผย และไม่ฟ้องหย่าสามีก็เรียกค่าทดแทนได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 7170/2554 ภรรยามีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ โดยไม่ต้องฟ้องหย่า

คำพิพากษาฎีกาที่ 10842/2559 ทั้งก่อนและหลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีโจทก์เป็นภริยาแล้ว จำเลยยังติดต่อคบหาสมาคมกับ ท. และติดตาม ท. มาถึงสถานที่ทำงาน อยู่ในห้องทำงานของ ท. และมีเพศสัมพันธ์กันซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ปกปิดมิดชิดไม่มีผู้ใดล่วงรู้ เมื่อคนงานและเพื่อนร่วมงาน ท. ทราบว่า ท. มีภริยาแล้วและพบเห็นจำเลยกับ ท. มาที่บริษัท โดยจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยกับ ท. มีความสัมพันธ์กันเป็นพิเศษ หลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีภริยาแล้ว ย่อมทำให้วิญญูชนทั่วไปมีเหตุอันควรเชื่อและเข้าใจว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับ ท. มากกว่าที่จะรู้จักกันในฐานะลูกค้าหรือบุคคลธรรมดาที่รู้จักกันทั่วไป ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ท. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีที่ฟังยุติมาข้างต้นมิอาจแปลความว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะลักลอบมีเพศสัมพันธ์กับ ท. และพยายามปกปิดการกระทำให้ทราบกันตามลำพังระหว่างจำเลยกับ ท.

คำพิพากษาฎีกาที่ 964/2562 คำฟ้องโจทก์ขอเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้" จากพฤติการณ์ที่สามีโจทก์ไปพบจำเลยที่บ้านเช่าของจำเลยในช่วงเวลากลางคืนบ่อยครั้ง โดยขับรถมาเองหรือมาพร้อมกับจำเลยก็ตาม บางครั้งก็นอนพักค้างคืนที่บ้านจำเลยและกลับออกมาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น อีกทั้งสามีโจทก์ยังมีกุญแจที่ใช้เปิดประตูเข้าออกบ้านจำเลยได้เอง แม้ในยามกลางดึกซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยเข้านอนแล้วก็สามารถเข้าบ้านจำเลยโดยไม่ต้องรอให้จำเลยเปิดประตูบ้านให้ อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่าที่จะเป็นเพียงนายจ้างหรือลูกจ้างกันตามปกติธรรมดา การที่จำเลยเป็นหญิงที่แต่งงานมีสามีแล้ว ยินยอมให้สามีโจทก์ซึ่งเป็นชายอื่นเข้าออกบ้านจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง รวมทั้งให้มานอนค้างคืนที่บ้านแล้วออกจากบ้านไปช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น โดยบางครั้งมีการแต่งกายออกไปทำงานพร้อมกัน ย่อมทำให้เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่พบเห็นถึงพฤติกรรมระหว่างจำเลยกับสามีโจทก์เข้าใจได้ว่า จำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการที่จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง


- ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนเพราะเหตุที่มีการล่วงเกินทางประเวณีนี้ ถ้าสามีหรือภรรยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายกระทำการตามมาตรา 1523 วรรคสองนั้น จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการมีชู้หรือมีภรรยาน้อย เว้นแต่จะเป็นเหตุต่อเนื่องตลอดมา หากมีหลักฐานการเป็นชู้ของคู่สมรส โปรดรีบติดต่อสำนักงานกฎหมาย ปรึกษาทนายความ โดยเร็วที่สุด

คำพิพากษาฎีกาที่ 6851/2537 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยจึงเรียกค่าทดแทนจาก ภรรยาน้อยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1620/2538 ภรรยาน้อยแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีใน ทำนองชู้สาวมีอยู่ตลอดมาจนถึงวันฟ้องเป็นเหตุต่อเนื่องไม่ขาดอายุความ

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841
#2
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ปรึกษาคดีฟรี)

          !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายความมืออาชีพยินดีช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

          เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ) บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว ฟ้องหย่า ฟ้องชู้ คดีมรดก ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับจดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

#3
ทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วประเทศ

บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว คดีมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับ จดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

การดำเนินคดีแพ่ง คือ
คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาลคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องก็เพื่อให้จำเลยชำระเงิน หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกดังเช่นคดีอาญา. คดีแพ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิ์ทางศาล เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์หากไม่มีผู้คัดค้าน คำร้องนั้นเข้ามาถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

การดำเนินคดีอาญา คือ
กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดและซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นซึ่งมีโทษทางอาญาหรือที่พูดกันว่าฟ้องให้ติดคุก หรือ รับโทษผู้อื่นในทางอาญาคดียาเป็นคดีที่เมื่อเกิดขึ้นจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของสาธารณชนในบ้านเมือง เช่น มีการฆ่าคนตายเกิดขึ้น มีการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาทขึ้น มีการชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์กันเกิดขึ้น ตัวอย่างคดีที่พบบ่อย ได้แก่คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น

!!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
https://www.jetsaridlawyer.com

#4
ข้อยกเว้น..ที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

ข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า
          มาตรา 1517 "เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
          ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 1516 ( 8 ) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้"
          มาตรา 1518 "สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว"
 
บัญญัติในมาตรา 1517 และมาตรา 1518 จะมีข้อยกเว้นอยู่ 4 ประการด้วยกัน
          ข้อยกเว้นประการแรก คือ การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า ซึ่งใช้เฉพาะในเหตุฟ้องหย่าประการที่หนึ่ง ที่สามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันสามีหรือภรรยาเป็นชู้ หรือมีชู้หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ และสามีหรือภรรยาประพฤติชั่ว เฉพาะ 2 กรณีนี้เท่านั้น หากฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจก็จะมาฟ้องหย่าไม่ได้ โดยการยินยอม หมายถึง การแสดงกิริยาอาการให้ปรากฏชัดแจ้งที่จะอนุญาตให้กระทำ ส่วน การรู้เห็นเป็นใจ หมายถึง การให้บริการและความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม

          - แต่เพียงการยอมอดทนนิ่งเฉย โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรหรือเป็นการวางกับดักเพื่อจะจับผิดนั้นไม่ถือว่าเป็นการยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 9131/2539 ภรรยาไม่ได้ยินยอมให้สามีมีภรรยาน้อยเช่นนี้ ภรรยาจึงฟ้องหย่าได้

          - ภรรยาเห็นรูปสามีประกอบพิธีมงคลสมรสกับหญิงอื่น หลังจากงานเสร็จไปแล้วโดยไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน ไม่ถือว่ายินยอมหรือรู้เห็นเป็นจ่ายภรรยาจึงฟ้องหย่าได้
          คำพิพากษาฎีกาที่ 3596/2546 โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินร่วมกันตลอดมา จนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ

          จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก

          สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดา เป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่า อุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

          ข้อยกเว้นประการที่สอง คือ การกระทำของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเป็นเหตุให้เกิดเหตุอย่างนั้น ซึ่ง ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 (10) ที่สภาพแห่งการของสามีหรือภรรยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดการ หากเกิดเพราะการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งคู่สมรสฝ่ายนั้นจะฟ้องหย่าไม่ได้ เช่น ภรรยาโกรธที่สามี ชอบไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นจึงใช้มีดตัดของลับของสามีโยนทิ้งไป เช่นนี้ภรรยาจะมาฟ้องหย่าโดยอ้างว่าสภาพแห่งกายของสามีไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาลไม่ได้ ถ้าเป็นกรณีที่ภรรยาหาภรรยาน้อยให้สามีแล้วสามีติดโรคเอดส์จากภรรยาน้อย เช่นนี้ ภรรยาฟ้องหย่าสามีอ้างเหตุสามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามเหตุฟ้อง หย่าตามมาตรา 1516 (9) เพราะข้อยกเว้นนี้ใช้เฉพาะเหตุตามมาตรา 1516 (10) เท่านั้น

          ข้อยกเว้นประการที่สาม คือ เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อยซึ่งใช้เฉพาะเหตุหย่า ตามมาตรา 1516 ( 8 ) ที่สามีหรือ ภรรยาผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤตินั้นศาลจะพิพากษาให้หย่าก็ได้

          ข้อยกเว้นรายการที่สี่ คือ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ให้อภัยแล้วซึ่งข้อยกเว้นเหตุที่ 4 นี้จะใช้ในเหตุหย่า ทุกเหตุแต่ต้องให้อภัยก่อนฟ้องคดี เช่น สามีทราบว่าภรรยามีชู้และจับได้แต่ให้อภัยต่อมาภายหลังจะเกิดนึกเจ็บใจกลับมาฟ้องหย่าภรรยาไม่ได้ และการให้อภัยนั้นต้องเป็นการที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าให้อภัยในการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อนการใช้สิทธิฟ้องหย่าต่อศาล ซึ่งหมายถึงการให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกับคืนสู่ฐานะทางครอบครัวดังเดิม โดยคู่สมรสฝ่ายที่ให้อภัยได้รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำผิดแต่ก็มีเจตนาที่จะยกโทษให้นั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงหรือหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ

          1. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องแสดงกิริยาอาการอย่างชัดแจ้งที่จะให้คู่สมรสที่ทำผิด กลับคืนสู่ฐานะในทางครอบครัวดังเดิม
          2. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้ เช่น ภรรยาใช้อาวุธปืนยิงสามี 2 ครั้งก่อนฟ้องคดีเป็นเวลาถึง 14 ปี และ 4 ปี แต่สามีไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษภรรยาคงอยู่กินด้วยกันตลอดมา เป็นต้นถือว่ามีเจตนาที่จะให้อภัยและยกโทษให้แล้ว
          3. คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องได้รู้ถึงความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยตลอด

          ตัวอย่างการให้อภัย เช่น การที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภรรยาและมีบุตรด้วยกันจึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยตั้งแต่แรกแล้ว นอกจากนี้ข้อต่อสู้เรื่องการให้อภัยและผู้พันจะไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ และศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นเรื่องการให้อภัยไว้ก็ตามแต่ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย (ฎีกาที่ 10157/2559)

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1699/2544 ภรรยาจงใจละทิ้งร้างแต่สามีก็ตามไปหาพาไปเที่ยวและ รับประทานอาหารหลายครั้งถือว่าเป็นการให้อภัยแล้วจึงฟ้องหย่าไม่ได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3190/2549 ภรรยาทราบว่าสามียุ่งเกี่ยวกับหญิงหลายคนแต่ไม่พร้อมหย่าจนเมื่อทราบแน่ชัดว่าสามีกับหญิงอื่นมีบุตรด้วยกันจึงฟ้อง อย่างเช่นนี้ไม่ถือว่ายินยอมหรือให้อภัยในการที่สามีมีภรรยาน้อยจึงสามารถฟ้องหย่าได้

          - สามีมีภรรยาน้อยแล้วยิงภรรยาหลวงบาดเจ็บสาหัส การที่ภรรยาหลวงส่งโทรสารถึงสามีเพื่อขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินออกจากบ้านมารดาสามี เป็นการขอให้เจ้าของสถานที่ยินยอมให้นำทรัพย์สินออกมา ไม่มีพฤติการณ์ที่จะอยู่กินดังเดิมและภรรยาหลวงยังแจ้งความคดีอาญาแก่สามีฐานพยายามฆ่า ถือไม่ได้ว่าภรรยาหลวงได้ให้อภัยแล้ว....จึงฟ้องหย่าได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 2473/2556 แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมี รายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้ เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้ สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำ ของจำเลยทั้งสอง และทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่ จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมา อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่ กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่าตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และ จำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้ สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518

          - ในกรณีที่คู่สมรสต่างกระทำผิดด้วยกันอันเป็นเหตุให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิฟ้องหย่าได้ เช่น สามีจงใจละทิ้งร้างภรรยาไป ภรรยาจึงมีชู้นั้น เช่นนี้ไม่ถือเป็นข้อยกเว้นในเหตุฟ้องหย่า สามีจึงหย่าขาดจากภรรยาได้

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

#5
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ (ทนายความ)

    บริการให้คำปรึกษากฎหมาย รับว่าความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีครอบครัว คดีมรดก คดีที่ดิน คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน และคดีตามกฎหมายอื่น ๆ พร้อมรับ จดทะเบียนบริษัท รับทำสัญญา รับทำพินัยกรรม โดยทีมทนายความมืออาชีพ ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความในพระบรมราชูปภัมภ์ พร้อมบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขอย่างถูกต้องโดยเร็วและรับทำคดีทั่วราชอาณาจักรด้วยความใส่ใจ

    การดำเนินคดีแพ่ง คือ
    คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์หรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ทางศาลคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการฟ้องก็เพื่อให้จำเลยชำระเงิน หรือ ส่งมอบทรัพย์สิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษจำคุกดังเช่นคดีอาญา. คดีแพ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิ์ทางศาล เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์หากไม่มีผู้คัดค้าน คำร้องนั้นเข้ามาถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

    การดำเนินคดีอาญา คือ
    กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดและซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติต่างๆซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นซึ่งมีโทษทางอาญาหรือที่พูดกันว่าฟ้องให้ติดคุก หรือ รับโทษผู้อื่นในทางอาญาคดียาเป็นคดีที่เมื่อเกิดขึ้นจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของสาธารณชนในบ้านเมือง เช่น มีการฆ่าคนตายเกิดขึ้น มีการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาทขึ้น มีการชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์กันเกิดขึ้น ตัวอย่างคดีที่พบบ่อย ได้แก่คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีฆ่าคนตาย คดีประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต คดีรับของโจร เป็นต้น

    !!! หากมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ยินดีช่วยเหลือให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ผู้เดือดร้อนด้วยความเป็นธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

ติดต่อ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ทนายความ
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841

#6
เหตุฟ้องหย่า มี 10 ประการดังนี้

การสิ้นสุดแห่งการสมรส มาตรา 1501
1. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือ ศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1501
2. การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน มาตรา 1502

ฟ้องหย่า มีอยู่ 10 เหตุ ดังต่อไปนี้
    (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณี กับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (1)
    (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
         (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
         (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
         (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสา มี ภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 (2)

    (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (3)
    (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4)
         การละทิ้งร้าง หมายถึง การที่สามีภริยาแยกกันอยู่ต่างหาก โดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่อกัน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี จึงจะเป็นเหตุฟ้องหย่า โดย 1 ปีนี้ไม่ใช่อายุความเพราะอายุความยังไม่เริ่มนับ
         (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
         (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

    (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
    (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (8.) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
    (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 
ฟ้องหย่า ฟ้องชู้  ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
โทร. 087-999-3841
#7
สำนักงานทนายความ เจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ให้บริการยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ทั้งแบบมีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมทั่วราชอาณาจักร

     ภายหลังจากผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ถึงแก่ความตายแล้ว มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล หนี้ ภาระติดพันทั้งการจำนอง จำนำ หรือ ค้ำประกัน เป็นต้น จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม แต่ก็อาจเกิดปัญหาในการแบ่งมรดก เช่น ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือ ลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้

    กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า "ผู้จัดการมรดก" แม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

>> วิธียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      – ยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ได้แก่ ศาลแพ่ง (กทม.), ศาลจังหวัด (ต่างจังหวัด) หากผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกนั้นตั้งอยู่ในเขตศาล

      – ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ได้

      – เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 45 – 60 วัน

      – ส่วนการไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบประชุมทางจอภาพอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม (Google Meet , Zoom Meeting , Line Meet) ได้

ติดต่อ ทนายเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์ ยื่นคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ได้ทั่วราชอาณาจักร

ติดต่อเรา https://www.jetsaridlawyer.com

��
��